วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

    ความหมาย
สารสนเทศ  หมายถึง ข่าวสารที่สำคัญเป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้นและจัดทำขึ้นภายในองค์การต่างๆตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์การนั้น
สารสนเทศ  ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Information หมายถึงความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศ เป็นความรู้ข่าวสารที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ
สารสนเทศ  หมายถึง  ข้อมูลทั้งด้านปริมาณและคุณภาพที่ประมวลจัดหมวดหมู่เปรียบเทียบ  วิเคราะห์และนำไปใช้ได้  หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า  
  เทคโนโลยีสารสนเทศ  คืออะไร
        เทคโนโลยีสารสนเทศ  หรือ IT ป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญในปัจจุบัมีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ  การประมวลผลและการเสนอผลสารสนเทศ
องค์ประกอบหลัก  มี 2 ส่วน คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรนาคม
1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
         คอมพิวเตอร์ จัดเป็นองค์ประกอบหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน เนื่องจากมีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งทางด้านการบันทึก  การจัดเก็บ  การประมวลผล  แสดงผล  และการสืบหา  แบ่งเป็นเทคโนโลยีย่อยได้ 2 ส่วน คือ เทคโนโลยีฮารืดแวร์และซอฟต์แวร์
          1.เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์  หมายถึงอุปกรณ์ทุกชนิด
การทำงานแบ่งออกเป็น  4 ส่วนคือ
1.หน่วยรับข้อมูล
2.หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู
3.หน่วยแสดงข้อมูล
4.หน่วยความจำรอง
    

          2.เทคโนโลยีซอฟต์แวร์  หมายถึง  โปรแกรมหรือชุดคำสั่งทำหน้าที่สั่งให้เครื่องทำงานตามผู้ใช้ต้องการ
ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น  2  ประเภท ดังนี้
1.ซอฟต์แวร์ระบบ  System  Software เป็นชุดคำสั่งที่ให้ระบบทำตามคำสั่ง
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์  Applicution  Software  ดป็นชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ส่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
         1.เทคโนโลยีการสื่อสารโทรนาคม
หมายถึง  ใช้ในการศึกษาติดต่อสื่อสาร เช่น ระบบโทรนาคม  ระบบดาวเทียม  เคเบิล
      ความสำคัญของเทคโนโลยี
-แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520-2524มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน
-แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ได้มีความเห็นความสำคัญสารสนเทศเพื่อการศึกษา
-ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 จัดตั้งแผนหลักเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญมากขึ้นทำให้การศึกษาของชาติมีความเท่าเทียมทั่วถึง  มีคุณภาพ  และความต่อเนื่องส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต  โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคุ้มค่า
   พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
-ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล  มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวน  และการประมวลผลของข้อมูลของรายการประจำ  Transaction  Processing  เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
-ยุคที่ 2  ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารการจัดการ  มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจควบคุมการดำเนินการ  ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ
-ยุคที่ 3  การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ  มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
-ยุคที่ 4  ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีการใช้กระบวนการคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ  และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ
          
 ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.ให้ความรู้ ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ  
2.ใช้ในการวางแผนบริหารงาน
3.ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4.ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
5.เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ
          ***สรุป***
การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษามีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น  เนื่องจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่างๆ เช่น ดาวเทียมสื่อสาร  ใยแก้วนำแสง  อินเทอร์เน็ต  ก่อให้เกิดระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการบริหารงานในสถานศึกษาด้านต่างๆ เช่น ระบบบริหารห้องสมุด  และระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน  ช่วยในการศึกษาและยังช่วยให้เกิดการเลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา  และวัดคุณภาพทางการศึกษาพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี

25 มิ.ย 2555

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
             รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
1.เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียม, ถ่ายภาพอากาศ, กล้องถ่ายวีดีทัศ
2.เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก
3.เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล เช่นคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
4.เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ
5.เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6.เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจ่ายเสียง, โทรเลข,
เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใก้ลและระยะไกล
               ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
       มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในทางธุรกิจและทางการศึกษา ดังตัวอย่าง เช่น
-ระบบเอทีเอ็ม
-การบริหารและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต
-การลงทะเบียนเรียน
         พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร
การแสดงออกทางความคิดและการรูสึกในการใช้รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภทที่นำมาประยุกต์ใช้ในการระบวนการจักหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ภาพ ข้อความหรือตัวอักษร ตัวเลขและภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
       
   การใช้อินเตอร์เน็ต
     งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อความการสนทนากับเพื่อนๆและการค้นข้อมูลจาห้องสมุด
    นอกจากนี้งานวิจัยยังชี้ว่านักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้
                สถานที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
     งานวิจัยพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้านและมีการใช้อินเตอร์เน็ตที่ห้องสมุดของสถาบัน
    นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการใช้หรือมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อยรูปแบบไหนบ้าง
2 ก.ค 2555
                           การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ
     การใช้ระบบสนเทศเพื่อ การค้นคืนค้นหาหรือดึงข้อมูลและสารสนเทศเฉพระเรื่องที่ผู้ใช้ระบุแหล่งระบบรวมสารสนเทศไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น การศึกษา เป็นต้น
            วัตถุประสงค์ในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ
1.เพื่อทราบถึงรายละเอียดของข้อมูล
2.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการศึกษาหรือทำงาน
3.เพื่อสร้างการเรียนรู้ในด้นตนเองและผู้อื่น
4.เพื่อตรวจสอบข้อมูล
5.เพื่อทำนำข้อมูลในได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
       Search Engine หมายถึงเครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลและข่าวสารให้แก่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต จากแหล่งข้อมูลเว็บไซต์
                    ประเภทของ   Search Engine
                    แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1.อินเด็กเซอร์ท (Tndexers) การทำงานของ Search Engine แบบอินเด็กเซอร์ จะเป็นฐานขนาดใหญ่ที่อยู่กระจัดการจากอินเตอร์เน็ต ไม่มีการแสดงข้อมูลและข่าวสารให้แก่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากแหล่งข้อมูลเว็บไซต์
2.ไดเร็กทอรี (Directorier) การค้นหาข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยกว่าการค้นคว้าข้อมูล
3.เมตะเสิรช์(Metasearch) Search Engine แบบเมตะเสรช์ใช้หลายๆวิธีการมาช่วยในการค้นหาข้อมูล
                                 ประโยชน์ Search Engine
           ใช้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการใช้สะดวกรวดเร็วถูกต้องค้นหาข้อมูล
                                       เทคนิกการสืบค้นข้อมูล
1.มีประเด็นใช้แคบลง
2.การใช้คำที่ใก้ลเคียง
3.การใช้คำหลัก (Keyword)
4.หลีกเลียงการใช้ตัวเลข
5.ใช้เครื่องหมายบวกและลบช่วย
6.หลีกเลียงภาษาพูด
7.ใช้Aolraucod Search
                                    การสืบค้นโดยใช้ตรรกบูลีน
             Boo lean Word Scarehcsl
การใช้ตระบุลีน  เป็นการสืบค้นโดยใช้คำเชื่อมดังนี้
AND   เป็นการเชื่อมคำเพื่อจำกัดการสืบค้นให้แคบลงด้วย การวาง AND ใช้หน่วยคำหรือการไปได้ตัวเคืองใดๆระหว่างทำใน โปรแกรมTOR เป็นการเชื่อมคำเพื่อขยายการควรไปยังคำอื่นๆที่กำหนดหรือต้องการแสดงค้นจากคำ2คำ เช่น digi tal colleoticnor digital library NOT   เป็นการเชื่อมคำเพื่อจำกัดการสันให้แคบลง โดยจัดให้ระบบทรงจำไม่ต้องการทำที่อยู่ตามหลัง
                         ลำดับการค้นที่มีการใช้คำเชื่อม (Bodean Operotoss)
1.ระบบจะค้นคำที่อยู่ในวงเล็บก่อน
2.จากนั้นจึงกำเนินการค้นหาคำทุกคำที่อยู่หลัง NOT
3.ลำดับต่อไปจะเห็นหาคำที่อยู่ระหว่าง AND ทั้งหมด รวมถึงความอยู่ใก้ลกันแต่ไม่มี AND เชื่อมด้วย
4.ขั้นตอนสุดท้ายจะทำการค้นหาคำที่อยู่ระหว่าง OR ทั้งหมด 

วันที่ 9 กรกฎาคม 2555
คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
 
                        คอมพิวเตอร์   หมายถึง  เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยชุดคำสั่ง  หรือโปรแกรมต่างๆสามารถเชื่อมต่อกับเครื่อข่ายได้หลายแบบ  ลักษณะคอมพิวเตอร์คือ มีศักยภาพสูงในการและเสียงประมวลผลข้อมูลเป็นตัวเลข  รูปภาพ  ตัวอักษร  และเสียง
                      ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์
             คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
             หมายถึง  ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์  แบ่งเป็น 5 ส่วนคือ
·       ส่วนที่ 1 หน่วยรับข้อมูลเข้า ( Input   Unit )
              เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ  ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบ  เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการ  ได้แก่
              -แป้นอักขระ ( Keyboard )
              - แผ่นซีดี ( CD-Rom )
              -ไมโครโฟน  ( Microphon )   เป็นต้น
·      ส่วนที่ 2 หน่วยประมวลผลกลาง ( Central   Processing  Unit )
                หรือที่เราเรียกกันว่า   CPU  ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์  รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
·       ส่วนที่ หน่วยความจำ ( Memory  Unit )
                ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง  และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
·       ส่วนที่ 4 หน่วยแสดงผล  (Output  Unit )
               ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวณผล  หรือผ่านการคำนวณแล้ว
·       ส่วนที่ 5 อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ( Peripheral  Equipment )
               เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น  เช่น  โมเด็ม ( modem ) แผงวงจรเชื่อมต่อเครื่อข่าย  เป็นต้น
 
                             ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1.             มีความเร็วในการทำงานสูง  สามารถประมวลผลได้เพียงชั่ววินาที   จึงใช้ในงานคำนวณต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
2.             มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง  ทำงานได้ 24 ชั่วโมงใช้แทนกำลังคนได้มาก
3.             มีความถูกต้องแม้นยำ  ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4.             เก็บข้อมูลได้มาก  ไม่เปลืองเนื้อที่เอกสาร
5.             สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่ง  ผ่านระบบเครื่อข่ายได้อย่างรวดเร็ว  ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน
                    ระบบคอมพิวเตอร์
หมายถึง  กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด  เช่น  ระบบเสียภาษี  ระบบทะเบียนราฎร์  ระบบทะเบียนการค้า  ระบบเวช  ระเบียนของโรงพยาบาล  เป็นต้น
                   การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบประมวณลของข้อมูลคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                   องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
                  มี 4  ส่วน  ดังนี้
1.     
   1.  ฮาร์ดแวร์ ( Hardware )  หรือส่วนเครื่อง
   2.  ซอฟแวร์  ( Software )  หรือส่วนชุดคำสั่ง
   3.  ข้อมูล ( Data )
   4.  บุคลากร ( People )
                       ฮาร์ดแวร์  ( hardware )
หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่สัมผัสได้จับต้องได้  ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ
  1.  ส่วนประมวลผล ( Processor )
  2.  ส่วนความจำ ( Memoyr )
  3.  อุปรณ์รับเข้าและส่งออก ( Input – Output  Devlces )
  4.  อุปรณ์หน่วยเก็บข้อมูล ( Sto )
 
                   ส่วนที่  1 CPU
CPU   เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เปรียบเสมือนเสมอ หน้าที่ ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์   ประมวลผลและเปรียบเทียบข้อมูลโดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและให้เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ได้    ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะ เรียกว่า สัญญาณ 1  วินาทีมีหน่วยเป็นเฮิร์ตซ์  Hertz  เช่น สัญญาณความเร็ว  1 ล้านรอบใน 1 วินาที เทียบเท่าความเร็วนาฬิกา  1  จิกเฮิร์ต 1 GHz
                ส่วนที่ 1 หน่วยความจำ  Memory
                จำแนกเป็น  3  ประเภท   ดังนี้
     1.  หน่วยความจำหลัก ( Main  Memory )
     2.  หน่วยความจำรอง  ( Secondary Storage )
     3.  หน่วยเก็บข้อมูล
                          1. หน่วยความจำหลัก
แบ่งได้ 2 ประเภท คือ แบบ แรม( RAM ) และหน่วยความจำแบบ รอม ( ROM )
                             1.1 หน่วยความจำแบบ “แรม
RAM=Random Aecess Memory เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล   ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน   เราเรียกความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลื่อนได้    Volatile   Memory
                             1.2 หน่วยความจำรอม “ รอม ( ROM.Read only Memory)
เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลบนฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เราเก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า  หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน
( Nonvolatile   Memory )
                       2. หน่วยความจำสำรอง
มีไว้สำหรับสำรองหรือทำงานเก็บข้อมูลและโปรแกรมเนื่องจากความจำหลักมีจำกัด  ความจำสำรองสามารถสามารถเก็บได้หลายแบบ  เช่น แผ่นบันทึก ( Floppy  Disk )
จานบันทึกแบบแข็ง ( Hard  Disk ) แผ่นซีดีรอม ( CD-ROM )จานแสงแม่เหล็ก

  บทที่ 5
             โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
-                   ระบบ Network และ Internet
-                   ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของเครือข่าย 3 ประเภท
1.ฮาร์ดแวร์ hardware
-คอมพิวเตอร์
-เซอร์เวอร์ Serwer
-ฮับ Hub
-บริดจ์
-เราท์เตอร์
-เกดเวย์
-โมเด็ม
-เน็ตเวอร์กการ์ด
2.ซอฟต์แวร์ Software
-โปรแกรมประยุกต์
-โปรแกรมปฎิบัติการ
3.ตัวนำข้อมูล Media
-สายโคแอกเซียล
-สายคู่บิดเกลียว  หุ้มฉนวน  STP
-สายคู่บิดเกลียว  ไม่หุ้ม UTP
-ใยแก้วนำแสง  Fiber Optic  Cable

                            การทำงานของระบบ Network และ Internet
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.เครือข่ายเฉพาะที่ ( Local Area Network : LAN )
  เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN  จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ กัน เช่น  อยู่ภายในอาคาร  หรือหน่วยงานเดียวกัน

2.เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network :MAN
  เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงใหญ่ขึ้น  ภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกัน
3.เครือข่ายบริเวณกว้าง ( Wind Area Network :WAN )
  เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ  โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN  มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียว  ดังนั้นเครือข่ายนี้จึงครอบคลุมไปทั่วประเทศ  หรือทั่วโลก  เช่น อินเตอร์เน็ต  ซึ่งถือเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
-                   การทำงานของระบบ Network  และ  Internet
-                   รูปแบบโครงสร้างของเครือข่ย  ( Network Topology)
  การจัดระบบการทำงานของเครือข่าย  มีรูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย  อันเป็นการจัดวางคอมพิวเตอร์และการเดินสายสัญญารคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายรวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายด้วย  โดยแบ่งโครงสร้างเครือข่ายหลักได้  4  แบบ  คือ
-เครือข่ายแบบดาว
-เครือข่ายแบบวงแหวน
-เครือข่ายแบบบัส
-เครือข่ายแบบต้นไม้
          -แบบดาว    เป็นการต่อสายเชื่อมโยงโดยการนำสถานีต่างๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง  การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง  การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์
  เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาวหลายแฉก  โดยมีสถานีกลาง  หรือฮับ  ป็นจุดผ่านทางการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย  สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมด  นอกจากนี้สถานีกลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย  การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบดาว  จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้  จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆโหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน

         -แบบวงแหวน    เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญานของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน  มีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขายาสัญญานตัวก่อนหน้าและส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญานตัวถัดไปเรื่อยๆ เป็นวง
         -แบบบัส    เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ  ด้วยสายเคเบิ้ลยาว  ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ  โดยจะมีอุปกรณืที่เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล  ในการส่งข้อมูล  จะมีคอมพิวเตอรารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ  การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ  ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน  เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน  วิธีการอาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่  สัญญาณที่แตกต่างกัน  ในการติดตั้งเครือข่ายแบบบัสนี้  คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด  ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ล
   อุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด  ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า  บัส  เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนดหนึ่งภายในเครือข่าย
        -แบบต้นไม้    เป็นเครือข่ายที่มีการผสมผสานโครงสร้างของเครือข่ายแบบต่างๆเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่  การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานี  การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆ  ได้ทั้งหมด  เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม  รับส่งข้อมูลเดียวกัน


        การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

-ระบบเครือข่ายทำให้เกิดการสื่อสาร
-รูปแบบการใช้งานของระบบคอมพิวเตอร์
       ระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะการทำงาน  ได้เป็น  3  ประเภท  คือ
1.ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง  (Centrallized  Networks)
2.ระบบเครือข่ายแบบ  Peer-to  Peer
3.ระบบเครือข่ายแบบ  Client/Server
       -แบบรวมศูนย์กลาง       เป็นระบบที่มีเครื่องหลักเพียงเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผล  ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางและมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องเทอร์มินอลที่อยู่รอบๆ  ใช้การเดินสายเคเบิ้ลเชื่อมต่อกันโดยตรง  เพื่อให้เครื่องเทอร์มินอลสามารถเข้าใช้งาน  โดยส่งคำสั่งต่างๆ  มาประมวลผล
       -แบบ  Peer-to  Peer      แต่ละสถานีงานบนระบบเครือข่าย แบบ  Peer-to  Peer  จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้  เช่น  การใช้เครื่องพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย  เครื่องแต่ละสถานีงานมีขีดความสามรถในการทำงานได้ด้วยตัวเอง  คือจะต้องมีทรัพยากรภายในของตัวเอง  เช่น  ดิสก์สำหรับเก็บข้อมูล  หน่วยความจำที่เพียงพอ  และมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลได้
      -แบบ  Client/Server    สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป้นจำนวนมาก  และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายสถานี  ทำงานโดยมีเครื่อง Server  ที่ให้บริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง  และมีการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ  จากส่วนกลาง  ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง  แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ  เคื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการในระบบ Client/Server  ราคาไม่แพงมาก  ซึ่งอาจใช้เพียงเครื่องไมโครคอมพิวเตอรืสมรรถนะสูงในการควบคุมการให้บริการทรัพยากรต่างๆ
    นอกจากนี้เครื่องลูกข่ายยังจะต้องมีความสามารถในการประมวลผล  และมีหน้าที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเป็นของตนเอง
     ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server       เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง  สนับสนุนการทำงานแบบ  Multiproocessor สามารถเพิ่มขยายขนาดของจำนวนผู้ใช้ได้ตามต้องการ  นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มจำนวนผู้ใช้ได้มาก  ข้อเสียคือ  ยุ่งยากในการติดตั้งมากกว่าระบบ  Peer-to  Peer